ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่ในแหลมอินโดจีน การที่เรียกว่าแหลมอินโดจีน เพราะถือว่าอยู่ระหว่างประเทศอินเดีย กับประเทศจีน ซึ่งเป็นการถือเอาประเทศใหญ่เป็นจุดอ้าง แต่ถ้าถือเอาสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดอ้างก็น่าจะเรียกว่า อินโด - แปซิฟิค เพราะเป็นแหลมที่แบ่งน่านน้ำออกเป็นมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ จดเส้นรุ้ง ๕ องศา ๓๗ ลิบดา ที่กิ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก จดเส้นแวง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก จดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สภาพธรรมชาติในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบตะวันออก - ใต้ของทวีปเอเซีย มีอุณหภูมิสูง มีทะเลลมและฝนเป็นปัจจัยให้เกิดป่าดง ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้เขตร้อน และสัตว์ป่านานาชนิด ที่มีปริมาณมากกว่าอีกหลายส่วนของโลก นับว่าเป็นย่านอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และทรัพยากรที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเซีย
การที่เส้นแวง ๑๐๑ องศา ตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นผ่านกลางพื้นที่ประเทศไทย การคิดเวลาของประเทศไทย จึงควรใช้เส้นแวงเส้นนี้เป็นตัวกำหนด แต่เนื่องจากว่าเพื่อให้สะดวกในกิจการรถไฟ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังแหลมมลายู ได้มีเวลาตรงกันทั้งไทย และมลายู (มาเลเซีย) ไทยจึงตกลงใช้เส้นแวง ๑๐๕ องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นศูนย์เที่ยงทางภูมิศาสตร์ของมลายู และเป็นเส้นศูนย์เที่ยงของอินโดจีนด้วย เป็นเส้นศูนย์เที่ยงของไทยด้วย จึงทำให้เวลาที่แท้จริงของไทยเร็วไป ๑๘ นาทีของที่ควรจะเป็น
ทิศเหนือ จดเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ จดเส้นรุ้ง ๕ องศา ๓๗ ลิบดา ที่กิ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก จดเส้นแวง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก จดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สภาพธรรมชาติในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบตะวันออก - ใต้ของทวีปเอเซีย มีอุณหภูมิสูง มีทะเลลมและฝนเป็นปัจจัยให้เกิดป่าดง ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้เขตร้อน และสัตว์ป่านานาชนิด ที่มีปริมาณมากกว่าอีกหลายส่วนของโลก นับว่าเป็นย่านอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และทรัพยากรที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเซีย
การที่เส้นแวง ๑๐๑ องศา ตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นผ่านกลางพื้นที่ประเทศไทย การคิดเวลาของประเทศไทย จึงควรใช้เส้นแวงเส้นนี้เป็นตัวกำหนด แต่เนื่องจากว่าเพื่อให้สะดวกในกิจการรถไฟ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังแหลมมลายู ได้มีเวลาตรงกันทั้งไทย และมลายู (มาเลเซีย) ไทยจึงตกลงใช้เส้นแวง ๑๐๕ องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นศูนย์เที่ยงทางภูมิศาสตร์ของมลายู และเป็นเส้นศูนย์เที่ยงของอินโดจีนด้วย เป็นเส้นศูนย์เที่ยงของไทยด้วย จึงทำให้เวลาที่แท้จริงของไทยเร็วไป ๑๘ นาทีของที่ควรจะเป็น
ภูมิรัฐศาสตร์
ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของผืนแผ่นดินในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพรมแดนธรรมชาติที่เหมาะสมในแง่ภูมิศาสตร์ โดยมีเทือกเขาขนาดใหญ่ และทุรกันดารทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ ดังนี้
ด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาอารกันโยมา อันเป็นสาขาของเทือกเขาหิมาลัย ทำให้เกิดป่าดงดิบทึบ เป็นการแยกประเทศพม่าออกจากประเทศอินเดียโดยสิ้นเชิง ไม่มีปัญหาเรื่องการมีสายน้ำร่วมกัน ในสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้รุกไปทางตะวันตกผ่านไทย ผ่านพม่า มุ่งสู่อินเดียก็มาสิ้นสุดที่แนวเทือกเขาแห่งนี้เท่านั้น
ด้านทิศเหนือ เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่บนที่ราบสูง ยูนนานของประเทศจีนตอนใต้ เป็นสาขาปลายตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านไปสู่ประเทศจีน เป็นย่านทุรกันดารเป็นป่าเขายากแก่การคมนาคมทางบก
ด้านทิศตะวันออก เป็นทะเลจีนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิค อันเป็นพรมแดนทางธรรมชาติอย่างแท้จริงในทางภูมิรัฐศาสตร์
ด้านทิศใต้ เป็นทะเลในด้านอ่าวไทย และมหาสมุทรอินเดีย จึงมีสภาพพรมแดนทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับด้านทิศตะวันออก
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ดังกล่าวมาแล้วทำให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ อันประกอบด้วย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย มีปราการทางธรรมชาติ ที่เกื้อกูลต่อความปลอดภัยร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ขนาดของประเทศไทย
จากหลักฐานของกรมแผนที่ทหาร ประเทศไทยมีพื้นที่ ประมาณ ๕๑๑,๙๓๗ ตารางกิโลเมตร ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๓ จนถึงปัจจุบัน ในระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้พื้นที่เดิมที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส ในพื้นที่สี่จังหวัดทางภาคตะวันออกของไทย คือ จังหวัดพระตะบอง (เขมร) เสียมราฐ (เขมร) นครจำปาศักดิ์ (ลาว) ล้านช้าง (ลาว) เป็นพื้นที่ประมาณ ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร และในสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากที่เสียให้แก่อังกฤษ คือ สหรัฐไทยเดิม เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๙,๘๕๕ ตารางกิโลเมตร และ ๔ รัฐมาลัย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี (เคดาร์) และปะลิส เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๓,๒๔๕ ตารางกิโลเมตร เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง ไทยจำต้องคืนดินแดนที่ได้กลับคืนมา คืนกลับไปให้ฝรั่งเศส และอังกฤษไป เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยแล้ว จะได้ดังนี้ - เล็กกว่า ประเทศพม่าอยู่ ๖๑,๔๖๑ ตารางไมล์ - เล็กกว่า ประเทศอินเดีย ๗ เท่า - เล็กกว่า ประเทศจีน ๑๐ เท่า - เล็กกว่า ประเทศตุรกี ๑/๓ เท่า - เล็กกว่า ประเทศฝรั่งเศสเล็กน้อย - เล็กกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ๑๓ เท่า |
รูปร่างของประเทศไทย
ประเทศไทยมีความยาวที่สุด จากเหนือ จดใต้ ประมาณ ๑,๘๓๓ กิโลเมตร มีความกว้างที่สุดจากตะวันออก ไปตะวันตกตามแนวเส้นรุ้งที่ผ่านจังหวัดอุบล ฯ - อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาไปทางตะวันตก ประมาณ ๘๕๐ กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่ที่ตำบลห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความกว้าง ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และตอนแคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ที่ตรงคอคอดกระ กว้างประมาณ ๖๔ กิโลเมตร
รูปร่างของประเทศไทยที่กล่าวกันไว้มีอยู่สามภาพด้วยกันคือ เป็นรูปกระบวยตักน้ำ เป็นรูปขวานโบราณ และเป็นรูปหัวช้างมีงวงทอดลงไปในทะเลใต้ สรุปแล้วประเทศไทยมีส่วนยาวเป็นสองเท่าของส่วนกว้าง และครึ่งหนึ่งของส่วนยาวเป็นส่วนแคบ ๆ ทอดยาวลงไปทางใต้ เราอาจแบ่งรูปร่างของประเทศไทยออกอย่างกว้าง ๆ เป็นสองส่วนคือ
ประเทศไทยมีความยาวที่สุด จากเหนือ จดใต้ ประมาณ ๑,๘๓๓ กิโลเมตร มีความกว้างที่สุดจากตะวันออก ไปตะวันตกตามแนวเส้นรุ้งที่ผ่านจังหวัดอุบล ฯ - อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาไปทางตะวันตก ประมาณ ๘๕๐ กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่ที่ตำบลห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความกว้าง ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และตอนแคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ที่ตรงคอคอดกระ กว้างประมาณ ๖๔ กิโลเมตร
รูปร่างของประเทศไทยที่กล่าวกันไว้มีอยู่สามภาพด้วยกันคือ เป็นรูปกระบวยตักน้ำ เป็นรูปขวานโบราณ และเป็นรูปหัวช้างมีงวงทอดลงไปในทะเลใต้ สรุปแล้วประเทศไทยมีส่วนยาวเป็นสองเท่าของส่วนกว้าง และครึ่งหนึ่งของส่วนยาวเป็นส่วนแคบ ๆ ทอดยาวลงไปทางใต้ เราอาจแบ่งรูปร่างของประเทศไทยออกอย่างกว้าง ๆ เป็นสองส่วนคือ
ส่วนบน
มีรูปร่างค่อนข้างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่มีความเว้าแหว่งอยู่มาก ห้องภูมิประเทศที่เกิดจากแนวเทือกเขา ที่ทอดตัวจากเหนือไปใต้ ทำให้เกิดส่วนแคบขึ้นสองแนวคือ แนวจังหวัดตาก - อุตรดิตถ์ และแนวอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว - อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ส่วนล่าง
พรมแดนไทย
พรมแดนของไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กำหนดขึ้นด้วยสัญญาระหว่างประเทศ กับประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส ในสมัยที่ประเทศทั้งสองมีอาณานิคมอยู่ติดกับประเทศไทยในทุกด้าน ดังนี้
- สนธิสัญญา ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๓๖ ระหว่างไทยกับอังกฤษ กำหนดพรมแดนไทยกับพม่า
- สนธิสัญญา เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๗๓ (ร.ศ.๑๑๖) ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- สนธิสัญญา เมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๔๔๕ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- สนธิสัญญา เมื่อ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- สนธิสัญญา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ระหว่างไทยกับอังกฤษ
พรมแดนไทยกับพม่า เริ่มต้นจากจังหวัดระนอง ที่ลำน้ำกระ (เส้นรุ้ง ๑๐ ลิบดา เหนือ) เป็นแนวเส้นเขตแดนต่อไปทางเหนือ ตามแนวสันเขาตะนาวศรี สันเขาถนนธงชัย สันเขาแดนลาว ไปจดแม่น้ำโขง ที่จุดเส้นรุ้ง ๒๕ องศา ๕ ลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แนวพรมแดนด้านนี้ยาว ประมาณ ๑,๔๕๐ กิโลเมตร ไม่สู้คดโค้งมากนัก ส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงใหญ่
พรมแดนไทยกับลาว เริ่มจากบ้านใหม่ (เส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๑๕ ลิบดา เหนือ) มีลำน้ำโขงเป็นแนวเส้นเขตแดน แล้ววกเขาหาทิวเขาหลวงพระบาง ลงมาทางใต้ แล้ววกไปหาแม่น้ำโขงไปจนจดปากน้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงนี้ยาวประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร
พรมแดนไทยกับกัมพูชา เริ่มจากปากแม่น้ำมูล แนวพรมแดนเป็นสันเขาพนมดงรัก ซึ่งโค้งมาทางตะวันตก จนถึงจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะทาง ประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นเขตแดนจะเป็นที่ราบจนจดทะเลที่อ่าวไทย
พรมแดนไทยกับมาเลเซีย เริ่มที่ลำน้ำนราธิวาสทางอ่าวไทยไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย แล้วใช้สันเขาสันกาลาคีรี เป็นแนวเขตแดนไปจนจดมหาสมุทรอินเดีย ที่จังหวัดสตูล
นอกจากนี้ไทยยังมีพรมแดนที่เป็นฝั่งทะเล คือ
- ด้านอ่าวไทย จากจังหวัดตราด ถึง นราธิวาส มีความยาวประมาณ ๑,๘๗๐ กิโลเมตร และด้านมหาสมุทรอินเดีย จากจังหวัดระนอง ถึงจังหวัดสตูล ยาวประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร
ความรู้พื้นฐานเกี่ยว กับภูมิศาสตร์โลก
ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้
1. เส้นวงกลมใหญ่ (Great Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม เรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่าง เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง
2. เส้นวงกลมเล็ก (Small Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม ตัวอย่าง เช่น เส้นขนาน
3. เส้นศูนย์สูตร (Equator)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน
4. เส้นเมริเดียน (Meridians)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้
5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian)
คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์
ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้
6. เส้นขนาน (Parallels)
คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก
7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา
8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก
"รุ้งตะแคง แวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
9. เส้นโครงแผนที่
คือ ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้าง รูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane) รูปทรงกรวย (Cone) และรูปทรงกระบอก (Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่
10. โปรเจคชั่นของแผนที่
คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน
11. ทิศเหนือจริง (True North)
คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง
โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่
12. ทิศเหนือกริด (แผนที่) (Grid North)
คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิศ
13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)
คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง
14. อะซิมุท ( Azimuth)
เป็นวิธี การที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบ กับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก
ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้
1. เส้นวงกลมใหญ่ (Great Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม เรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่าง เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง
2. เส้นวงกลมเล็ก (Small Circle)
คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม ตัวอย่าง เช่น เส้นขนาน
3. เส้นศูนย์สูตร (Equator)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน
4. เส้นเมริเดียน (Meridians)
คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้
5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian)
คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์
ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้
6. เส้นขนาน (Parallels)
คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก
7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา
8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง
คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก
"รุ้งตะแคง แวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
9. เส้นโครงแผนที่
คือ ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้าง รูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane) รูปทรงกรวย (Cone) และรูปทรงกระบอก (Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่
10. โปรเจคชั่นของแผนที่
คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน
11. ทิศเหนือจริง (True North)
คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง
โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่
12. ทิศเหนือกริด (แผนที่) (Grid North)
คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิศ
13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)
คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง
14. อะซิมุท ( Azimuth)
เป็นวิธี การที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบ กับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก
ทวีปเอเชีย
ทวีปเอเชียมีขนาดพื้นที่ในส่วนที่เป็นแผ่นดินมากที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของโลกใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาที่มีขนาดพื้นที่รองลงมาประมาณ 1.5 เท่า หรือใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดประมาณ 5.5 เท่า ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย ทำให้ปรากฏลักษณะต่าง ๆ ในเชิงภูมิศาสตร์มากมาย เช่น
- ทำให้ทวีปเอเชียมีเวลาท้องถิ่นต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปอื่น ๆ พิจารณาได้จากความกว้างของผืนแผ่นดินตามลองจิจูดมีความกว้างถึง 144 องศา ทำให้มีเวลาท้องถิ่นระหว่างบริเวณที่อยู่ตะวันตกสุดคือ แหลมบาบาในประเทศตุรกี กับบริเวณที่อยู่ตะวันออกสุดคือ แหลมอีสต์ ในประเทศรัสเซียห่างกันถึง 9 ชั่วโมง 30 นาที ขณะที่ผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปออสเตรเลียที่มีความกว้างตามลองจิจูด 40 องศา มีเวลาท้องถิ่นต่างกันจากบริเวณตะวันตกสุดถึงตะวันออกสุดเพียง 2 ชั่วโมง 36 นาที ซึ่งการคำนวณเรื่องของเวลาท้องถิ่นนั้น พิจารณาจากความกว้างของลองจิจูดทุก 15 องศา จะมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่นประเทศไทยที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก มีเวลาต่างกับเมืองกรีนิชในประเทศอังกฤษที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 0 องศา อยู่ 7 ชั่วโมง และประเทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าอีกด้วยเพราะอยู่ทางด้านตะวันออก เป็นต้น
นอกจากนี้ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชียยังทำให้มีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีลักษณะดิน ภูมิอากาศ และพืชพรรณธรรมชาติที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปนี้
ทวีปแอฟริกาส่วนใต้ และทวีปอเมริกาใต้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทวีปเอเชียจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้น ซึ่งมีผลมาจากการโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่บนพื้นโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันนั่นคือ ในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุมตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาเหนือ หรือทีเรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ส่งผลให้พื้นที่ในซีกโลกเหนือได้รับแสดงอาทิตย์ในลักษณะแสดงตรงปริมาณความเข้มมากและระยะทางใกล้กว่าพื้นที่ในซีกโลกใต้ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุม
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาใต้ หรือที่เรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น จึงทำให้ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อนแต่ในขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนั่นเอง
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23
ยอดเขาเอเวอเรสต์
ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยมีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
|
3.1 เทือกเขาสูง
ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลกประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชียที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทางรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้วคล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมี 2 แนวย่อยคือ แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ มีเทือกเขาฮินดูกูช แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาสุไลมาน
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น